17/12/59

การ์ดยอดนิยมที่กำลังจะหลุด standard ในปี 2017

ในเดือนเมษายน 2017 นี้ การ์ดชุดใหม่ "Journey to Un'Goro" จะถูกวางขาย และจะเกิดปรากฏการณ์ปรับเปลี่ยนโฉมหน้าของเซ็ตการ์ดใน format standard (โหมดมาตรฐาน) โดยทาง Blizzard ได้ประกาศมาแล้วว่า standard ในปีนี้จะเป็น "Year of Mammoth" หลังจากนั้นการ์ดจากชุด Blackrock Mountain, The Grand Tournament, และ League of Explorers จะไม่สามารถใช้ใน standard ได้อีกต่อไป สามารถใช้ได้เฉพาะใน format wild (โหมดอิสระ) เท่านั้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นนี้จะมีการ์ดยอดนิยมใดหลุด standard ไปบ้าง และจะส่งผลต่อเด็ค (deck) ต่าง ๆ อย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ


เหล่า legendary ยอดนิยมที่กำลังจะจากไป
Emperor Thaurissan สุดยอด legendary สำหรับเด็ค combo ทุกรูปแบบ รวมไปถึงเด็ค midrange / control ด้วย แต่สำหรับเด็ค 2 แบบหลัง การเสียการ์ดใบนี้ไปอาจไม่ส่งผลกระทบต่อเด็คเท่าไรนัก แต่กับเด็ค combo หลาย ๆ เด็คต้องเรียกว่าถึงขั้นดับอนาถ ไม่สามารถเล่นได้อีกต่อไปเลยทีเดียว โดยเฉพาะเด็คที่ใช้การ์ดในการทำ combo รวมกันเกิน 10 มานา ซึ่งหากไม่ได้รับการลดค่าร่ายจากการ์ดใบนี้แล้วจะไม่มีสามารถทำ combo ได้
Reno Jackson legendary ที่มาพร้อมกับการเล่นใหม่ คือการจัดเด็คที่บังคับให้ใส่การ์ดเพียงอย่างละ 1 ใบเพื่อใช้ความสามารถของการ์ดใบนี้ในการฟื้นฟูเลือดของ hero ให้เต็ม นิยมเล่นในหลาย class โดยเฉพาะ class ในแก๊ง Kabal (Mage, Priest, Warlock) ซึ่งโดยภาพรวมแล้วเด็ค Reno ทั้งหลายจะค่อนไปทางสาย control มีจุดแข็งคือมีการ์ดที่หลากหลาย สามารถเดินเกมได้หลายรูปแบบตามแต่สถานการณ์ แต่ก็มีจุดด้อยเช่นกันคือการใส่การ์ดได้เพียงแค่อย่างละใบ ทำให้การ์ดดี ๆ ที่เราอยากใส่ 2 ใบจำเป็นต้องถูกตัดออกไป การเสียการ์ดใบนี้ไปจะทำให้เด็คแนวนี้ไม่สามารถเล่นได้อย่างคุ้มค่า เพราะผู้เล่นที่จัดเด็คแนวนี้ก็เพื่อต้องการใช้การ์ดใบนี้เป็นประเด็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม การ์ดในชุด Mean Streets of Gadgetzan (อาจจะรวมถึงการ์ดในชุดต่อ ๆ ไปในอนาคต) ก็มีการ์ดหลายใบที่บังคับให้ใส่การ์ดเพียงอย่างละ 1 ใบจึงจะเกิดผลเช่นกัน หากการ์ดเหล่านั้นมีพลังมากพอให้ผู้เล่นต้องการจัดเด็คเพื่อใช้มัน เด็คแนวนี้ก็น่าจะยังคงอยู่ เพียงแค่ไม่มี Reno Jackson แล้วเท่านั้น
Justicar Trueheart การ์ดใบสำคัญสำหรับเด็ค control โดยเฉพาะ Warrior และ Priest (นาน ๆ ทีจะพบเห็นใน class อื่น เช่น Paladin, Druid) หากขาดการ์ดใบนี้แล้วจะทำให้เด็คเหล่านี้ต่อกรกับเด็ค aggro ได้ลำบากขึ้น (ยังไม่นับว่าเด็คเหล่านี้ยังต้องเสียการ์ดใบอื่นที่จะได้พูดถึงในบทความนี้ต่อไปอีก)
Sir Finley Mrrgglton การ์ดใบสำคัญสำหรับเด็ค aggro แทบทุก class (ยกเว้น Warlock และ Hunter) เนื่องจากแทบทุก class ต่างต้องการที่จะเปลี่ยน hero power เป็น Steady Shot กดดันอีกฝ่ายเพื่อปิดเกมไว ๆ หากเสียการ์ดใบนี้ไป จะทำให้หลาย ๆ class เล่น aggro ได้ลำบากขึ้น เพราะ hero power ไม่เอื้อต่อรูปแบบ aggro เช่น Priest, Warrior เป็นต้น
Brann Bronzebeard การ์ดที่สร้าง value ให้กับการ์ดที่มีความสามารถ battlecry ยิ่งโดยเฉพาะกับเด็คที่การ์ดส่วนใหญ่มีความสามารถนี้ แต่การเสียการ์ดนี้ไปอาจไม่ส่งผลกระทบต่อเด็คส่วนใหญ่ที่ใช้มันมากเท่าไร
Elise Starseeker การ์ดใบสำคัญสำหรับเด็ค control แบบ late game ยัน fatigue ซึ่งช่วงท้ายเกมมักเหลือแต่การ์ดขยะที่ไม่ต้องการร่ายแล้ว ซึ่งบางทีหากร่ายแล้วจะเกิดผลเสียอีกต่างหาก การเปลี่ยนการ์ดเหล่านั้นเป็น legendary ย่อมคุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง การเสียการ์ดใบนี้ไปเท่ากับเป็นการตัด 1 ใน win condition ของเด็คทิ้งไปเท่านั้น แต่เด็คส่วนใหญ่ที่ใช้การ์ดใบนี้ก็น่าจะยังคงเล่นได้แม้ไม่มีการ์ดใบนี้


การ์ด dragon ทั้งหลาย รวมถึงการ์ดที่มีความสามารถ "battlecry: if you're holding a dragon" จำนวนหลายสิบใบ เมื่อการ์ดเหล่านี้หลุด standard ไปแล้ว เด็ค dragon ทั้งหลายที่เราเคยเห็นคงจะเปลี่ยนไปหมด เรียกว่าหากใจรักจะเล่นมังกรกันจริง ๆ คงต้องหวังกับการ์ดชุดใหม่อย่างเดียว ซึ่งคาดว่าทาง blizzard คงจะทำออกมาเสริม แต่การขาด Twilight Guardian นับว่าเป็นเรื่องน่าหนักใจพอสมควรเลยทีเดียว สำหรับเด็ค Dragon Priest ที่เรียกได้ว่าเป็นเด็คมังกรที่สมบูรณ์ที่สุด ก็จะต้องเสียการ์ดต้นเกมจำนวนมากไป ทั้ง Twilight Whelp และ Wyrmrest Agent อย่างไรก็ดี มังกรอย่าง Faerie Dragon, Twilight Drake, และ legendary dragon ทั้งหลายในชุด classic ก็จะยังเป็นกำลังสำคัญใน standard สำหรับเด็คมังกรต่อไปอีกนาน และยังมีของเล่นมังกรอย่าง Netherspite Historian อยู่ ก็่น่าจะทำให้เด็คมังกรยังพอมีอนาคตให้คาดหวังอยู่


พูดถึง dragon ไปแล้วก็มาพูดถึงฝั่ง murloc บ้าง เด็คที่จะสูญสลายไปอย่างแน่นอนก็คือเด็ค Anyfin Paladin (ที่ผู้เขียนไม่เรียกเด็คนี้ว่า Murloc Paladin เพราะผู้เขียนไม่ยอมรับว่าเด็คที่ว่าคือเด็ค murloc เนื่องจากใส่ murloc แค่ 4 ใบ จะให้เรียกว่าเด็ค murloc ได้อย่างไร ในเมื่อเด็ค Murloc Paladin ที่แท้จริงนั้นมีอยู่ เพียงแค่ไม่ได้รับความนิยมเท่าเด็คที่ว่านี้) การสูญเสียคีย์การ์ดอย่าง Anyfin Can Happen จะทำให้เด็คดังกล่าวเล่นได้เฉพาะใน wild เท่านั้น ส่วนทางด้านของ Murloc Shaman จะเสีย Everyfin is Awesome ซึ่งจะส่งผลให้ Murloc Shaman ลดความแข็งแกร่งลงไปอย่างมากเลยทีเดียว คือต้องพึ่ง Bloodlust อย่างเดียว การจากไปของ Murloc Knight อาจเป็นผลดี เพราะทำให้ทาง blizzard ไม่ต้องพยายามออก murloc ห่วย ๆ มาเพื่อลดความเก่งของมันในทางอ้อมแบบที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ ส่วน Murloc Tinyfin นี่นับเป็นการสูญเสีย murloc ที่น่ารักที่สุดในประวัติศาสตร์ นับจากนี้ไปการสุ่ม minion ค่าร่าย 0 ใน standard คงจะเจอแต่ Wisp


ถัดจาก murloc ก็คงต้องพูดถึงฝั่งของ beast กันบ้าง ซึ่งในช่วงระยะหลังจะเห็นได้ว่า blizzard พยายามดัน Beast Druid มาโดยตลอด แต่หลังจาก standard ใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ เหล่า beast ที่เป็นกำลังสำคัญของ Druid ทั้ง 3 ใบก็กำลังจะจากไป ซึ่งส่งผลให้เด็คอ่อนลงอย่างมาก ต้องรอดูว่าชุดต่อไปจะมี beast เก่ง ๆ ออกมาไหม หรือทาง blizzard จะหันไปปั้น Druid สายอื่นแทน



สำหรับสาย aggro จะมีการ์ดสามัญที่จะหลุด Standard ไปคือ Argent Horserider (เก่งสุดในหมู่การ์ดสาย aggro ที่กำลังจะหลุดไป), Flame Juggler, และ Huge Toad ซึ่งต้องรอดูว่าการ์ดชุดต่อไปจะมีการ์ดอะไรมาแทนได้ไหม

ถัดไปจะพูดถึงการ์ดประจำ class ต่าง ๆ ที่กำลังจะหลุด standard บ้าง

Living Roots การ์ด spell สามัญประจำทุกเด็ค Druid หากเสียการ์ดนี้ไปจะทำให้ช่วงต้นเกมมีการ์ดเคลียร์บอร์ดน้อยลง และส่งผลต่อเด็ค Malygos Druid อย่างมาก เนื่องจาก spell ยิง hero ได้จะเหลือเพียง Moonfire กับ Swipe เท่านั้น ต้องไปหวังเอากับการ์ดชุดหน้าว่าจะมีอะไรมาแทนไหม Raven Idol นับเป็น spell ที่หาคำตอบให้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีในค่าร่ายที่เหมาะสม Mulch การ์ดฆ่าที่มีประสิทธิภาพสูง แต่การเสียการ์ดเหล่านี้ไปอาจส่งผลกระทบต่อเด็ค Druid ไม่มากนัก แต่สำหรับ Astral Communion นี่คือปิดฉากเด็ค Astral Druid กันเลยทีเดียว และแน่นอนเมื่อ Aviana จากไป เด็ค OTK Druid ที่ใช้ Aviana + Kun + บลา ๆ ๆ ก็จะจากไปด้วย


Quick Shot นับเป็นการ์ด removal spell ค่าร่าย 2 ที่มีประสิทธิภาพหวังผลได้ในทันทีเพียงใบเดียวของ Hunter การสูญเสียการ์ดใบนี้ทำให้เด็ค Hunter ลำบากขึ้นมากอย่างแน่นอน เมื่อเทียบกับ class อื่นที่มีการ์ด removal spell ค่าร่าย 2 ดี ๆ แทบทุก class คงต้องรอดูว่าชุดหน้าจะมีอะไรมาแทนไหม ซึ่งหากมีการ์ดยิงมาแทน อาจต้องมีเงื่อนไขสักนิดเช่น ยิงได้แต่ minion ไม่งั้น Hunter ใน wild จะโหดไป (ยกเว้นว่าทีม developer จะไม่สนใจเรื่อง balance ใน wild เลย) Bear Trap เป็น secret ที่ใช้ได้ดี โดยเฉพาะในยุคนี้ที่ Pirate เกลื่อนเมือง การเสียการ์ดใบนี้อาจไม่ส่งผลกระทบเท่าไรนัก แต่สำหรับการจากไปของ Lock and Load นี่น่าจะทำให้ Hunter สาย control หายไปอย่างแน่นอน (มันหายไปตั้งแต่ Yogg Saron โดน nerf แล้วเหอะ)


Flamewaker การ์ดสุดโกงของ Mage ใบนี้คงไม่ต้องบรรยายสรรพคุณอะไรมาก การสูญเสียการ์ดใบนี้แน่นอนว่าเด็ค Tempo Mage คงลดความแข็งแกร่งลงไปมาก แต่คาดว่าเด็คก็น่าจะยังคงเล่นได้ การเสีย Forgotten Torch ดูจะน่าสนใจกว่า เพราะส่งผลต่อหลาย ๆ เด็คของ Mage แต่อย่างไรก็ดี Mage เดิมทีก็มีการ์ดยิงที่เก่ง ๆ เป็นการ์ดเบสิกจำนวนมากอยู่แล้ว ต่อให้สูญเสียการ์ดใบนี้เด็คต่าง ๆ ของ Mage ก็จะยังคงเล่นได้ และแข็งแกร่งในระดับหนึ่ง


สำหรับ Mysterious Challenger หรือ Dr.6 นี่ถึงจะยังอยู่ใน standard แต่สภาพจริงก็เหมือนตก type ไป wild แล้วนั่นแหละ เพราะแทบไม่มีคนนำมาใช้ใน standard เลย กลับกันมันเป็นองค์ประกอบหลักในเด็ค Secret Paladin ซึ่งเป็นเด็คอันดับ 1 ใน wild ตั้งแต่มีการแบ่ง format จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นการสูญเสียการ์ดใบนี้คงไม่มีผลอะไรทั้งสิ้นสำหรับ standard แต่สำหรับ Keeper of Uldaman นี่ถือว่าเป็นการสูญเสียการ์ดที่ดีใบหนึ่งของ Paladin เลยทีเดียว Solemn Vigil ก็เช่นกัน สำหรับเด็ค Control Paladin ที่ใช้ combo กับการ์ดล้างบอร์ดเพื่อจั่วฟรี เมื่อไม่มีใบนี้การจั่วคงสะดุดลงไปบ้าง


สำหรับ Priest ถือเป็นการสูญเสียการ์ดที่ค่อนข้างหนัก เนื่องจากปกติก็มีการ์ดล้างบอร์ดไม่มากอยู่แล้ว ก่อนหน้านี้เสีย Lightbomb รอบนี้เสีย Excavated Evil ยังดียังเหลือ Dragonfire Potion ที่พอเทียบเคียง Lightbomb ได้อยู่ การเสีย Entomb ก็นับว่าหนักเช่นกัน Flash Heal เป็นได้ทั้งใบฮีล และใบยิง (combo กับ Auchenai Soulpriest) ใช้ในหลาย ๆ เด็คของ Priest รวมถึงไปถึงเด็ค OTK (Malygos + Prophet Velen) หากขาดใบนี้ไป Priest คงเอาตัวรอดจาก aggro ได้ลำบากขึ้น และเด็ค OTK คงต้องไปหวังกับ Mind Blast + Holy Smite เท่านั้น สำหรับ Resurrect การเสียการ์ดใบนี้ทำให้เล่นสายชุบได้ลำบาก เพราะจะเหลือแค่ Onyx Bishop และไม่สามารถชุบในเทิร์นต้น ๆ ได้ทำให้เด็ค Resurrect Priest ไม่สามารถไปต่อได้


Tomb Pillager ใบที่ทำให้ Miracle Rogue ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง การจากไปของการ์ดใบนี้ส่งผลต่อเด็คพอสมควร คาดว่าอาจจะต้องกลับไปใช้ Violet Teacher หรือรอดูชุดต่อไปว่าจะมีอะไรมาแทนไหม Unearthed Raptor อันนี้น่าจะมีผลกับเด็ค Jade Rogue ซึ่งใช้ใบนี้ก็อปความสามารถของ Jade Swarmer รวมไปถึงเด็ค N'Zoth Rogue ส่วน Gang Up นี่ ส่งผลต่อ Mill Rogue อย่างแน่นอน น่าจะทำให้เด็คเล่นได้ลำบากขึ้นมหาศาล อาจถึงขั้นพัง เพราะนอกจากจะเสีย Gang Up แล้วยังเสีย Brann ด้วย สำหรับ Burgle นี่อาจจะส่งผลกระทบไม่มาก เพียงแค่ทำให้ Ethereal Peddler แสดงประสิทธิภาพได้ไม่เต็มที่ (ยังไม่แน่ใจว่ายังมีคนเล่น Rogue สายขโมยมากแค่ไหน)


Shaman น่าจะเป็น class ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก็เป็นได้ เพราะต้องเสีย minion สำคัญอย่าง Tunnel Trogg และ Totem Golem ซึ่งสองใบนี้เรียกได้ว่าทำให้ Shaman กลับมาเล่นได้ในระดับที่ไม่อายใครแล้ว และทำหน้าที่ช่วงต้นเกมได้อย่างดีเยี่ยม การสูญเสียการ์ดเหล่านี้ไปย่อมส่งผลกระทบอย่างมากต่อเด็ค Shaman ในทุกรูปแบบ ส่วน Thunder Bluff Valiant นี่ส่งผลกระทบต่อสาย midrange พอสมควร สำหรับสาย control นับว่าโดนหนักมากทั้งการ์ดเคลียร์บอร์ดอย่าง Elemental Destruction และการฮีลอย่าง Healing Wave


Dark Peddler และ Imp Gang Boss นับเป็นการ์ดที่ทรงพลังมากต่อเด็ค Warlock ทุกรูปแบบในยุคหลังมานี้ เรียกได้ว่าขาดไม่ได้เลยทั้งสาย aggro อย่าง Zoolock หรือสาย control อย่าง Renolock และ Handlock ซึ่งการ์ดสองใบนี้สร้างความได้เปรียบต่อเกมอย่างมาก แต่การสูญเสียการ์ดเหล่านี้ก็ไม่ทำให้เด็คทั้งหลายของ Warlock อ่อนกำลังลงไปมากนัก (ส่วนหนึ่งเพราะ hero power ของ Warlock มันโกง) เด็ค Zoolock และ Handlock น่าจะยังคงโลดแล่นในกระแสหลักได้ ส่วน Renolock นั้นคงตายไปพร้อมกับการจากไปของ Reno Jackson การสูญเสีย Demonwrath ทำให้เด็คสาย control เสียเปรียบ aggro มากขึ้น เพราะจะมีโอกาสเคลียร์ต้นเกมได้น้อยลง ช้าลง


สำหรับ Warrior จะมีผลกับสาย control และสาย taunt มากกว่าสาย aggro โดยเฉพาะ Revenge จะทำให้สาย control อาจต้องหันกลับไปใช้ Whirlwind (ซึ่งห่วยกว่ามาก) อีกครั้ง Bash ทำให้เสียการ์ดเพิ่มเกราะ + เคลียร์บอร์ดไปพร้อม ๆ กัน แต่ใบนี้อาจไม่ส่งผลกระทบมากนัก เพราะส่วนใหญ่ใช้ Shield Block กันมากกว่า และไม่ค่อยใส่ Bash ส่วนสาย taunt ที่ระยะหลัง Blizzard พยายามดัน จะเสีย Bolster และ Fierce Monkey ไป โดยใบหลังมักนิยมใช้กับ The Curator แต่ถึงอย่างไรเด็ค Taunt Warrior ก็คงยังสามารถเล่นได้ดีด้วยการ์ดใหม่ ๆ จากชุด Mean Streets of Gadgetzan แถมมีโอกาสได้รับการดันต่อในชุดหน้าอีก (สำหรับสาย aggro ก็จัด Pirate Warrior ไปเลย เก่งยาว ๆ)


ยังมีการ์ดอื่น ๆ ที่ไม่ได้ถูกพูดถึงในข้างต้นอีก เช่น Grim Patron การ์ดใบนี้ที่จริงควรเอาไปพูดรวมกับ Warrior ซะให้เข็ด เพราะมันแทบจะถูกนำไปเล่นใน Warrior อยู่ class เดียวเลย แน่นอนว่าเมื่อการ์ดใบนี้จากไป เด็ค Patron Warrior (และ Patron อื่น ๆ) ก็จะต้องปิดฉากลงไปอยู่ใน wild Refreshment Vendor การ์ดยอดนิยมของเด็คสาย control ในหลาย ๆ class ในยุคที่การ์ดฮีลมีน้อย ใคร ๆ อยากได้ไปอยู่ในเด็ค เมื่อมันจากไป การ์ดฮีลก็จะลดลงไป 1 ใบ และสุดท้าย Eerie Statue ขาดใบนี้ไป เด็ค Purify Priest จะอยู่อย่างไร (น้ำตาจะไหล)



นอกจากการ์ดทั้ง 3 ชุดแล้ว ข่าวล่าสุดแจ้งมาว่าทาง Blizzard จะนำการ์ดจากชุด Classic 6 ใบ ไปอยู่ในหมวด "Hall of Fame" ทำให้การ์ดเหล่านี้ไม่สามารถเล่นใน standard ได้อีก เล่นได้เฉพาะใน wild เท่านั้น และไม่สามารถเปิดหาได้จากซอง Classic อีกต่อไปหลังจากเปลี่ยนเป็น Year of Mammoth (อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
Sylvanas Windrunner การ์ดดรอป 6 ที่ทรงพลังรองจาก Emperor Thaurissan หากการ์ดใบนี้ยังอยู่ ย่อมเป็นการ์ดดรอป 6 ที่เป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ในหลาย ๆ เด็ค ด้วยเหตุนี้การ์ดใบนี้จึงต้องถูกนำออกไป คาดว่าอนาคตดรอป 6 ที่น่าจับตามองคงไม่พ้น Cairne Bloodhoof
Ragnaros the Firelord การ์ดดรอป 8 ที่เก่งที่สุดในเกม และเป็นการ์ดที่สร้างผลสะเทือนต่อรูปเกมอย่างสูงอย่างไม่มีใครปฏิเสธได้ เป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ในเด็ค standard จำนวนมาก ด้วยเหตุนี้การ์ดใบนี้จึงต้องถูกนำออกไป
Azure Drake การ์ดดรอป 5 ที่เก่งที่สุดในเกม แถมเป็น neutral ใส่ได้ทุกเด็ค และยังเป็นการ์ดระดับแรร์ที่เก่งที่สุดในเกมอีกด้วย อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการ์ดที่ถูกเลือกนำไปใส่เด็คมากที่สุดในเกมนี้ก็ว่าได้ ด้วยความสามารถที่คุ้มค่ากับสแตทที่ยืนบอร์ดได้ดีสำหรับการ์ดดรอป 5 ด้วยเหตุนี้การ์ดใบนี้จึงต้องถูกนำออกไป อนาคตหลาย ๆ เด็คคงจะเล่นได้ลำบากขึ้นแน่นอน โดยเฉพาะ Rogue
Ice Lance เด็ค Freeze Mage เป็นเด็คที่สามารถอยู่คู่เกมนี้มาแทบทุกยุคสมัย เพราะการ์ดส่วนใหญ่อยู่ในชุด Classic และ Basic ที่สำคัญคือการ์ดใบนี้ยังเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำ combo 30 damage เพื่อปิดเกม ด้วยเหตุนี้การ์ดใบนี้จึงต้องถูกนำออกไป เท่ากับว่าเด็ค Freeze Mage อาจจะไม่สามารถเล่นใน standard ได้อีกต่อไป หรือถึงเล่นได้ก็ไม่เก่งเหมือนก่อน
Conceal การ์ดใบสำคัญของเด็ค Miracle Rogue อีกเด็คหนึ่งที่อยู่คู่เกมนี้มาแทบทุกยุคสมัย โดยใช้ combo กับ Gadgetzan Auctioneer เพื่อหนีจากการถูกทำลาย เทิร์นถัดไปจะได้ทำ combo ร่าย spell เพื่อจั่วจนชนะ นอกจากนั้นยังสามารถใช้ในเวลาที่ฝ่ายเรามี minion ที่มีพลังมากพอที่จะปิดเกมในเทิร์นถัดไป โดยที่อีกฝ่ายจะแก้เกมได้ยากมาก หรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้การ์ดใบนี้จึงต้องถูกนำออกไป 
Power Overwhelming การ์ดใบสำคัญในการทำ combo เพื่อปิดเกมด้วย damage ที่มหาศาล ทั้งสาย combo และ aggro ด้วยเงื่อนไขที่ง่าย และค่าร่ายแค่ 1 แต่ได้ถึง 4 damage ด้วยเหตุนี้การ์ดใบนี้จึงต้องถูกนำออกไป ดังนั้นในอนาคตเด็ค Warlock หลาย ๆ เด็คคงหาทางปิดเกมได้ลำบากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะเด็ค Zoolock ที่จะมี speed ที่ช้าลงอย่างมาก

สำหรับผู้เล่นหน้าใหม่ ผู้เขียนอยากให้ลองใช้บทความนี้ประกอบการตัดสินใจว่าจะคราฟ (craft) การ์ดที่ใกล้หลุด standard เหล่านี้มาใช้หรือไม่ จะคำนึงถึงอนาคตอันใกล้ใน standard ยุคหน้าที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่เดือน หรือคำนึงถึงเพียงปัจจุบัน แล้วอาจจะนำไปต่อยอดต่อใน wild อันนี้สุดแล้วแต่จะตัดสินใจ 

สำหรับเด็คที่จะอยู่รอดต่อไปใน standard ยุคหน้า คงเป็นเด็คที่การ์ดส่วนใหญ่เป็นการ์ดที่อยู่ในชุด Basic, Classic, Whispers of the Old Gods, One Night in Karazhan, และ Mean Streets of Gadgetzan และการ์ดที่กำลังจะหลุดไปไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อเด็คนั้น ๆ 


Credit ภาพประกอบจาก hearthpwn.com

12/4/59

เคลียร์ Adventure "League of Explorers" ด้วย Basic Deck

เชื่อว่าผู้เล่นใหม่หลาย ๆ คนคงได้รับการแนะนำจากผู้เล่นที่มีประสบการณ์หลายคนให้ซื้อ "League of Explorers" adventure ที่มีการใช้งานดี ๆ มากมาย โดยเฉพาะ legendary ที่ใช้ได้จริงทุกใบ ไม่ว่าจะเป็น Reno Jackson ใบที่เป็นคีย์การ์ดของหลาย ๆ เด็ค (deck), Brann Bronzebeard ใบสำคัญในการทำคอมโบ (combo) battlecry ของหลาย ๆ เด็ค โดยเฉพาะเด็ค mill, Sir Finley Mrrgglton ใบที่ทำให้ทุก class สามารถใช้ hero power ของ class อื่นได้, Elise Starseeker ใบเด็ดของเด็คสาย control หรือ fatigue ซึ่งความเจ๋งของ adventure นี้คงไม่ต้องพูดถึงให้มากความ แต่ปัญหาสำคัญสำหรับผู้เล่นใหม่คือ ผู้เล่นเหล่านี้หลายคนอาจจะมีความเข้าใจว่าตนเองไม่มีการ์ดดี ๆ จะให้ไปสู้กับบอส (boss) ในแต่ละด่านของ adventure ได้อย่างไร ซึ่งผมขอยืนยันว่า adventure นี้สามารถใช้ basic cards หรือการ์ดพื้นฐานที่ผู้เล่นทุกคนได้มาฟรี ๆ จากระบบเกมตั้งแต่แรก จัดเด็คล้มบอสได้ไม่ยาก วันนี้ผมมี basic deck ที่สามารถปราบบอสทุกด่านใน adventure นี้ โดยผ่านการทดสอบแล้วด้วยตัวผมเองมาแนะนำ

Decklist


*สามารถปรับเปลี่ยนการ์ดในเด็คได้ตามความพึงพอใจของแต่ละคน

วิธีเล่น

เด็คที่แนะนำดังกล่าวคือเด็ค Basic Mage ซึ่งเหมาะกับผู้เล่นใหม่มากเด็คหนึ่ง เพราะ class นี้จัดว่าเป็น class ที่มีการ์ดพื้นฐานดีมาก แถมมี hero power ดีมาก class หนึ่งเลย วิธีเล่นก็ง่ายมากคือ พยายามคุมบอร์ด คุมจังหวะ (tempo) เน้นเทรด (trade) หรือตี minion มากกว่าตีหน้า (go face) โดยเทรดให้ฝ่ายเราได้เปรียบ หากเจอ minion ขนาดใหญ่ เทรดไม่คุ้ม ก็อาจจะเลือกตีหน้าแทน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ การเลือกใช้การ์ด spell ยิง damage นั้นควรตัดสินใจให้ดีและรอบคอบ หากอ่านเกมอีกฝ่ายได้ขาด จะเพิ่มโอกาสในการชนะมากขึ้น

การมูลิแกน (mulligan) หรือเปลี่ยนการ์ดมือแรกตอนเริ่มเกม พยายามเก็บการ์ดค่าร่ายน้อย ๆ ไว้ในมือ หากเดินตามค่าร่ายได้จะดีมาก เช่น มีการ์ดมือแรกเป็นค่าร่าย 2, 3, 4 ทำให้เราสามารถร่ายการ์ดต่อเนื่องได้ทุกเทิร์น เกมจะลื่นไหลและไปได้สวย

คลิปตัวอย่างการเล่น


หวังว่าบทความและคลิปนี้จะมีประโยชน์กับผู้เล่นที่ต้องการเคลียร์ League of Explorers แต่มีการ์ดไม่เยอะนะครับ

16/3/59

Format Standard & Wild กับการตัดสินใจ

หลังจากที่ทาง Blizzard ได้ออกมาประกาศข่าวใหญ่สะเทือนวงการ Hearthstone เรื่องการแบ่ง format type เป็น 2 format คือ standard กับ wild ในหัวข้อ "A New Way to Play" เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2016 (อ่านแบบแปลไทย ที่นี่) ก็ทำให้เรื่องนี้เป็นประเด็นร้อนในหมู่ผู้เล่น Hearthstone ทั้งในไทยและทุกประเทศทั่วโลก แต่สำหรับผู้เล่นหลายคนที่เคยเล่นการ์ดเกม Magic the Gathering มาก่อน อาจไม่มีปัญหาหรือต้องปรับตัวอะไรมากนักกับกรณีนี้ เพราะคุ้นชินกับระบบนี้มาก่อนอยู่แล้ว และที่สำคัญคือระบบที่ทาง Hearthstone นำมาใช้นี้ ก็นำมาจาก Magic the Gathering นี่แหละ


ระบบ format type แบ่งออกเป็น 2 format คือ

1. Standard - format นี้จะสามารถใช้ได้เฉพาะการ์ดจากชุด Basic (การ์ดฟรีที่ได้มาตั้งแต่เริ่มเล่น), Classic (ซองชุดแรกของเกมนี้), และการ์ดที่อยู่ในซอง และ adventure ใน 2 ปีล่าสุด (ปีปัจจุบันและปีก่อนหน้า) เท่านั้น การ์ดที่มีอายุเก่ากว่านั้นจะไม่สามารถใช้เล่นใน standard ได้ แต่จะใช้เล่นใน wild ได้
2. Wild - format นี้จะสามารถใช้การ์ดได้ทุกใบ ทุกชุด

จุดที่เหมือนกันของ 2 format นี้คือ สามารถเล่นในโหมดแข่งขัน หรือโหมด Play ได้ทั้งแบบ casual และ ranked แต่จะแยกส่วนกัน สำหรับแบบ ranked รางวัลเมื่อจบฤดูกาล (season) จะคิดจาก ranked สูงสุดที่เราทำได้ หาก standard สูงกว่าจะคิดจาก standard หาก wild สูงกว่าจะคิดจาก wild

ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่าง 2 format นี้ คือ หากต้องการเก็บแต้มเพื่อไปแข่งงานใหญ่ ๆ จะคิดจาก ranked ใน standard เท่านั้น หรือแม้แต่การเข้าร่วมงานแข่งทั่วไปที่เป็นทางการ ก็จะใช้ได้เฉพาะ standard เช่นกัน ซึ่ง format นี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการแข่งขันแบบจริงจังในระดับมืออาชีพ หรือนักกีฬา e-sports ส่วน wild จะได้แค่ใช้เล่นสนุกตามปกติ ไม่ได้เน้นไปที่การแข่งชิงรางวัลอะไร แต่ถึงอย่างไรก็ตาม โหมดอื่น ๆ ในเกมไม่ว่าจะเป็น Solo Adventure, Arena, หรือ Tavern Brawl นั้นจะเป็น wild ทั้งหมด ดังนั้นหากเล่น Tavern Brawl แล้วเรามีการ์ดชุดเก่ามากกว่า ก็จะได้เปรียบกว่า (ยกเว้นจะเป็นกติกาแบบ random cards)


รูปแบบการตัดสินใจของผู้เล่น จะแบ่งออกเป็น 3 แบบหลัก ๆ คือ

1. เล่น Standard อย่างเดียว (Standard Only) - หากเลือกตัดสินใจมาทางนี้แบบจริงจัง ก็อาจจะเลือกย่อย (disenchant) การ์ดทุกใบที่หลุด standard ทิ้งหมด เพื่อนำดัส (dust) ไปคราฟ (craft) การ์ดที่สามารถใช้ใน standard ได้ พูดง่าย ๆ คือนำการ์ดเก่าที่ไม่ใช้แล้ว (หลุด standard แล้ว) ไปสร้างการ์ดใหม่ไว้ใช้งานนั่นเอง แต่ข้อเสียสำหรับสายนี้คือ หากคิดอยากจะหันมาเล่น wild คงจะรู้สึกเสียดายการ์ดเก่า ๆ ที่ตัวเองเคยย่อยทิ้งไป หากต้องมาคราฟใหม่เพื่อใช้ คงทำใจลำบากสักหน่อย (ต้องคราฟกลับอย่างเดียว เพราะไม่มีให้เปิดแล้ว) ซึ่งต้องใช้ดัสมากกว่าที่เคยย่อยคืนอย่างน้อย 4 เท่า เช่น ย่อย Dr. Boom ได้ดัสคืนมา 400 แต่หากต้องการคราฟกลับ ต้องใช้ดัส 1600 ส่วนต่าง 1200 ถือว่าหนักเอาการเลยทีเดียว หากคิดที่จะย่อยใบที่สามารถใช้งานได้จริงใน wild เพื่อมาสายนี้จริงจังก็ควรพิจารณาให้ถ้วนถี่ก่อนตัดสินใจ

ผู้ที่เหมาะกับสายนี้คือ ผู้ที่ต้องการแข่งขันระดับมืออาชีพ หรือนักกีฬา e-sports และผู้ที่เพิ่งเริ่มเล่นเกมนี้ไม่นาน

2. เล่น Wild อย่างเดียว (Wild Only) - สำหรับการตัดสินใจนี้ ผู้เล่นอาจจะไม่ต้องสนใจการ์ดชุดใหม่มากนัก หากมีการ์ดชุดใหม่ใบใดที่ใช้งานได้ดีใน wild ก็ค่อยคราฟเอา หรือหากผู้เล่นมีการ์ดชุดเก่าเยอะมากพออยู่แล้วก็อาจเลือกเปิดซอง หรือ adventure ใหม่ ๆ เพื่อนำมาเล่นได้ และหากต้องการจะหันไปเล่น standard ก็สามารถทำได้ไม่ยาก

ผู้เล่นที่เหมาะกับสายนี้คือ ผู้เล่นที่ไม่ค่อยมีเวลาเล่น หรือเล่น ๆ เลิก ๆ หากหยุดเล่นไประยะหนึ่งแล้วคิดอยากกลับมาเล่น ก็สามารถใช้การ์ดเก่า ๆ เล่น wild ได้เลย เพียงแค่หาของเพิ่มเติมเพื่อเสริมเด็คเดิมให้ทันกับยุคสมัย และผู้เล่นที่มีการ์ดเก่าจำนวนมาก 

3. เล่นทั้ง Standard และ Wild (Standard & Wild) - สายนี้จะค่อนข้างเหนื่อยกว่าสายอื่น ๆ เพราะจะต้องเก็บการ์ดทุกชุดเพื่อเล่นทั้ง 2 format สำหรับผู้เล่นสายเติมเงินไม่อั้นจะไม่มีปัญหากับเรื่องนี้มากนัก แต่สำหรับผู้เล่นหน้าใหม่สายฟรี ไม่เติมเงิน มีการ์ดน้อย (โดยเฉพาะการ์ดที่หลุด standard) จะเหนื่อยมากเป็นพิเศษ ซึ่งสำหรับผู้เล่นประเภทนี้ ผมแนะนำให้เลือกทางใดทางหนึ่งจะดีกว่า


หลายครั้งที่มีคำถามว่า "การ์ดเก่า ๆ ที่ (กำลังจะ) หลุด standard ย่อยดีไหม? ควรเปิดไหม?" ผมแนะนำว่าคุณควรถามตัวเองว่าคุณเลือกจะเล่นสายไหนใน 3 แบบที่ได้กล่าวไปข้างต้น หากไม่ใช่ข้อ 1 ก็อาจเลือกย่อยเฉพาะใบที่ห่วยจริง ๆ หรือไม่นิยมใช้งาน หากคุณเลือกข้อ 1 การย่อยทุกใบที่หลุดและกำลังจะหลุด standard เพื่อนำไปคราฟการ์ดใช้งานชุดใหม่ที่กำลังจะมาในอนาคต ก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดี แต่ต้องตระหนักว่าจะย้อนกลับมาเล่น wild จะยากมาก ๆ แล้ว และจะรู้สึกเสียดายและเสียใจภายหลังมาก ๆ ด้วย ส่วนที่ว่าควรเปิดไหมก็เช่นกัน หากคิดจะเล่น wild ก็ควรเปิด โดยเฉพาะ adventure เพราะได้การ์ดที่ต้องการแน่นอนกว่าการเปิดซอง

อย่างไรก็ตาม การ์ดจากซองชุด Classic จะสามารถใช้เล่นได้ทุก format ผมแนะนำให้ผู้เล่นทุกคนควรมีไว้ โดยเฉพาะผู้เล่นหน้าใหม่ควรเริ่มต้นจากการ์ดชุดนี้ก่อน ส่วนการ์ดจาก adventure ที่หลุด standard หรือตก type ไป จะสามารถย่อยและคราฟได้ แต่การ์ดจาก adventure ที่ยังอยู่ใน standard จะต้องซื้อจาก solo adventure หรือ shop อย่างเดียว หาก adventure ใดที่ใกล้จะหลุด standard แนะนำให้ซื้อไว้อย่างน้อย 1 wing เผื่อตัดสินใจซื้อในอนาคตก็จะยังสามารถที่จะซื้อได้แม้จะหลุด standard ไปแล้ว หากไม่ซื้อไว้ก่อนก็จะไม่มีโอกาสซื้อได้อีก เพราะ adventure ดังกล่าวจะถูกนำออกจากการขาย (หากเปิดไว้อย่างน้อย 1 wing จะยังอยู่ให้สามารถซื้อเป็นเจ้าของได้ทั้ง adventure ตลอดไป)


Credit ภาพจาก google

25/1/59

แนะนำ Deck Murloc Shaman (Wild)

ห่างหายจากการแนะนำเด็คไปนาน วันนี้จะมาแนะนำเด็คที่มีผู้คนให้ความสนใจจำนวนไม่น้อย ตั้งแต่ชุด Journey to Un'Goro เข้ามา แม้แต่เหล่าโปรเพลเยอร์ หรือสตรีมเมอร์ชื่อดังยังจับมาเล่น เพื่อลอง legendary spell ใบใหม่อย่าง Unite the Murlocs ซึ่งเด็คที่ว่านี้ก็คือเด็ค Murloc Shaman นั่นเอง แต่เวอร์ชั่นที่ผมนำเสนอในบทความนี้จะเป็นในเวอร์ชั่น wild format

Deck Murloc Shaman เป็นเด็ครูปแบบ aggro คือเน้น minion ค่าร่ายน้อย และการโจมตีที่รวดเร็วและรุนแรง โดยเน้นการเพิ่มพลังจากการ์ดต่าง ๆ ให้ minion มีขนาดที่โตขึ้น ทำ damage ได้รุนแรงขึ้น โดยใช้การ์ดหลักจาก Shaman คือ Everyfin Is Awesome (ดูบทความ "หนทางสู่การสร้างเด็คเมอล็อก" เพิ่มเติม)

Decklist


การเล่น Deck Murloc Shaman

คอนเซ็ปต์ของการเล่นเด็คนี้คือ พยายามร่าย minion เผ่าเมอล็อกลงไปในบอร์ดจนครบ 10 ตัว เพื่อปลดล็อกเควส Unite the Murlocs ซึ่งจะได้รางวัลเป็น Megafin ขุมพลังหลักของเด็คเรา เพราะสามารถเติมมือเราให้เต็มด้วยการ์ดเมอล็อกต่าง ๆ ทำให้สามารถสแปมบอร์ด (spam board) ทำเกมได้เรื่อย ๆ พอบอร์ดเราแข็งแกร่ง เราจะสามารถใช้ Everyfin Is Awesome บวกพลังทั้งสนามเพื่อปิดเกมอีกฝ่ายได้ การเล่นโดยทั่วไปจะเป็นการเทรด (trade) minion อีกฝ่ายเพื่อคุมบอร์ดให้บอร์ดเราได้เปรียบ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และ match up ที่เจอ
Minion ที่ช่วยเพิ่มพลังให้เหล่าเมอล็อก นอกจากเมอล็อกด้วยกันอย่าง Murloc Warleader, Grimscale Oracle, Rockpool Hunter, และ Coldlight Seer แล้ว ยังมี Flametongue Totem ที่สามารถเพิ่มพลังในทันที ไม่ว่าจะเพิ่ม damage ในการ go face หรือเพื่อเทรด minion ที่มี health ค่อนข้างสูงก็นับว่าดีทั้งสิ้น

การมูลิแกน (Mulligan) สำหรับมือแรก การ์ด Unite the Murlocs จะขึ้นมาเป็นใบแรกเสมอ ให้เก็บไว้ ส่วนใบอื่น ๆ ให้พิจารณาตามเคิร์ฟ (curve) ที่จะสามารถดำเนินเกมได้อย่างไหลลื่นตามมานาในแต่ละเทิร์น การเดินเกมในทุก match up ควรเล่นระวัง (play around) การ์ดล้างบอร์ดของ class หรือเด็คนั้น ๆ ไว้เสมอ และ Coldlight Seer มักเป็นคำตอบสำหรับหนีการ์ดล้างบอร์ดในหลาย ๆ match up (Everyfin Is Awesome อาจใช้ไม่ทันการ เพราะติดเงื่อนไขเรื่องค่าร่าย)
การเลือก hero power เมื่อใช้ Sir Finley Mrrgglton
- Best hero power หรือ hero power ที่ดีที่สุด คือ Life Tap (Warlock) เนื่องจากเด็คมักจะมีปัญหาการ์ดขาดมือ อีกทั้งยังสามารถช่วยหาคำตอบในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย
- Good hero power หรือ hero power ที่ดี คือ hero power ที่ช่วย deal damage ซึ่ง Steady Shot (Hunter) ถือว่าดีที่สุดในระดับเดียวกันนี้ เพราะสามารถเร่ง damage ที่เลือดของอีกฝ่าย ทำให้สามารถปิดเกมได้เร็ว โดยเฉพาะกับ match up Warrior ซึ่งจะทำให้อีกฝ่ายเพิ่ม armor หนีได้ไม่ไกลนัก ส่วน hero power อื่น ๆ ในระดับนี้ได้แก่ Dagger Mastery (Rogue), Fireblast (Mage), Shapeshife (Druid) ซึ่งสามารถ deal 1 damage ใส่ minion ได้ โดยของ Rogue จะมีข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งคือเราไม่ต้องใช้มานาเพื่อ activate มันทุกเทิร์นเหมือนอีก 2 class ส่วน Fireblast ดีที่ตรงเราไม่ต้องเสียเลือดเหมือนของ Rogue กับ Druid หากมีเป้าหมายที่ minion
- Fair hero power หรือ hero power ที่พอใช้ได้ ได้แก่ Reinforce (Paladin) ซึ่งแม้จะเสก minion เหมือนกัน แต่ทำได้ไม่ดีเท่าของเดิมของ Shaman และ Lesser Heal (Priest) ซึ่งสามารถ heal minion ได้ (ดีกว่า Armor Up! (Warrior))
- Worst hero power หรือ hero power ที่แย่ที่สุด คือ Armor Up! (Warrior) ซึ่งไม่มีประโยชน์เลย หากไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ใกล้ตาย

ทั้งนี้การเลือก hero power ควรคำนึงถึง match up และสถานการณ์ในเกม ณ ขณะที่ร่ายเป็นสำคัญ

การใช้ Everyfin Is Awesome ควรจำไว้เสมอว่าเราสามารถร่าย murloc ที่เวลาร่ายแล้วจะได้จำนวนเมอล็อกเท่ากับจำนวนค่าร่ายของมันเอง (ได้แก่ เมอล็อกค่าร่าย 0-1 และ Murloc Tidehunter) ก่อนจะร่าย Everyfin Is Awesome ได้ในเทิร์นที่สามารถร่าย Everyfin Is Awesome ควรคำนวณให้ดีก่อนการตัดสินใจ

โดยภาพรวมเด็คนี้จะค่อนข้างได้เปรียบเด็ค control ที่เดินเกมช้า แต่จะค่อนข้างเสียเปรียบใน match up ที่เกมเร็วอย่าง Pirate Warrior หรือ Zoo Warlock


สำหรับครั้งนี้ก็ขอแนะนำไว้เพียงเท่านี้ก่อน ผู้อ่านสามารถนำไปลองเล่นสนุก ๆ ได้ ปรับเปลี่ยนได้ตามความชอบ ความถนัดของแต่ละคน รวมถึงปรับเพื่อให้สามารถรับมือกับ metagame ในช่วงนั้น ๆ


Credit: ภาพประกอบจากเว็บ hearthpwn.com